วิธีเลือกซื้อรถยนต์ที่ผ่านการใช้แล้ว
1. สุมดประวัติประจำรถมักไม่ค่อยมี เพราะเจ้าของรถไม่พิถีพิถัน แต่ถ้ามีก็ต้องถือว่ายอดเยี่ยม เพราะสมุดประวัติประจำรถทำให้รู้ว่าเขาตรวจซ่อมอะไรมาบ้าง ตรวจทุกระยะประจำหรือเปล่า
2. เจ้าของรถคุณควรดูเจ้าของรถคันเดิมว่าเขาเป็นใครใช้รถอย่างไรดูแลรถหรือไม่ มีคนกล่าวว่า ไม่ควรซื้อรถต่อจากวัยรุ่น ผู้หญิง และคนชรา เพราะว่าทั้งสามประเภทนี้ ใช้รถอย่างเดียวไม่ค่อยดูแลรถที่ใช้อยู่
3. มือที่เท่าไหร่ก็คือรถคันนี้มีคนเป็นเจ้าของมามากน้อยเพียงใด ถ้าผ่านมาแล้วหลายมือก็ไม่ควรซื้อ เพราะรถอาจจะมีปัญหาได้
4. ตัวเลขระยะทางการใช้รถในการซื้อรถคุณควรดูเลขตัวไมล์ โดยปกติการใช้รถไม่ควรจะมากกว่าสามหมื่นกิโลเมตรต่อปี หากมากไปกว่านี้ถือว่ามากอาจทำให้เครื่องยนต์ที่ใช้งานหนัก
5. ดูตัวถัง body
- เปิดฝากระโปรงหน้ามาดูคานหน้า คานรถทุกคันจะมีรู กลมบ้าง เหลี่ยมบางแล้วแต่ ถ้ารูเบี้ยว ไม่คมก็แสดงว่ามีชนมาบ้าง
- ป้ายทะเบียนรถยับมีรอยดัด ก็ให้เดาไว้ก่อนเลยว่าเคยชนมา แผ่น plate ที่แปะติดคานมา มีรอยยับหรือดัดมาก็เช่นกัน
- สันด้านข้างตะเข็บความนูนเสมอกันหรือไม่ รอยอ๊าค จากโรงงานกับอู่เคาะพ่นสีก็ต่างจะกัน
- สำหรับด้านหลัง ก็เปิดฝากระโปรงดูเช่นกัน ไฟท้ายทั้ง 2 ดวงเสมอเบ้าหรือไม่ รอยแยกต่อชิ้นเว้นช่องไฟเท่ากันเปล่ามีเบี้ยวมีเกยกันหรือไม่ คานหลังก็ใช้ลักษณะการสังเกตเหมือนคานหน้าเพียงแต่ต้องลื้อพรมปูท้ายรถออกเพื่อให้เห็นพื้น
- พื้นรถด้านหลังโดยมากจะเป็นรอนๆ ก็สังเกตดูว่าเท่ากันหรือเปล่า รถบางคันโดนชนหลังมาช่างเคาะอาจทำดีมากจนดูแทบไม่ออก ต้องเช็ค มีบางคันเศษกระจกอาจหลงเหลืออยู่ให้เห็น
- ส่วนด้านข้าง ก็ดูเทียบสี จากโรงงานสีเดิม กับอู่สี สีจะเพี้ยนนิดหน่อยแต่ก็พอเห็น ใช้วิธีเคาะด้วยมือของเรานี่แหละ เคาะรอบคันเลย รถที่ทำสีมาแล้วเสียงจะทึบๆ ชิ้นที่สีเดิมจะมีเสียงโปร่งๆ ฟังดีดีจะรู้ถึงความแตกต่าง
- รถที่เคยหงายตะแคงมา ก็ดูหลังคารถเคาะๆ ดู สังเกตขอบคิ้วกระจกหน้าหลังว่าเหมือนกันหรือเปล่า มีรอยแตกของสีโป๊วหรือไม่ หลังคาไม่น่ามีสีสดสวยกว่าประตูข้าง เพราะเป็นส่วนที่รับแดดมากที่สุด
6. เครื่อง + ช่วงล่าง + เกียร์
- เครื่อง ถ้าเครื่องมีปัญหา หรือ หลวม จะเสียงดัง ไม่นิ่งรอบสูงบ้างต่ำบ้าง ไม่น่าเชื่อถือ เวลาเครื่องร้อนเราก็ดูก้านวัดระดับน้ำมันเครื่องออกมา จะมีควันพุ่งออกมา หรือ น้ำมันเครื่องจะกระเซ็นเป็นละอองออกมาเอามือไปอังๆ ดูก็ได้
- เกียร์ ชุดส่งกำลัง คลัชต์ ถ้าเข้าเกียร์ ออกตัวแล้วๆ กระตุกๆ เข้าเกียร์ยาก นั่นหมายถึงมีปัญหา ถ้าวิ่งๆ อยู่มีเสียงหอนแหวกอากาศมาเข้ามา เวลาเข้าเกียร์ว่างรถจอดนิ่งๆ ไม่ดังก็แสดงว่าเกียร์มีปัญหา เกียร์ auto ก่อนเข้าเกียร์เหยียบเบรคคาไว้ เข้าเกียร์ตำแหน่ง D ไม่กระตุกกระชากก็พอใช้ได้ เข้าตำแหน่งเดิม N แล้วไป R ก็ไม่มีอาการอะไรก็แสดงว่าน่าจะผ่านแล้ว ต้องลองวิ่งดูว่าเกียร์ทำงานทุกเกียร์เปล่า ออกตัวก็เช่นกัน ออกตัวดีมั้ย ถ้าต้องรอสักพักถึงเคลื่อนตัวได้แสดงว่าเกียร์อาการแย่
- ช่วงล่าง เวลาขับไปเจอฝาท่อ เจอถนนคอนกรีตที่กร่อน มีหลุม มีบ่อ ถ้าลุยเข้าไป เดี๋ยวเสียงกรุกกรักจะปรากฏถ้าไม่แน่น หรือ อาจสะท้านมาถึงพวงมาลัยเลยก็มี แต่อย่าขับเร็วมากนักอาจเสี่ยงต่ออันตราย ก็ได้ ต่อไปเป็นเบรค และ สภาพยาง อาจซื้อแล้วเข้าร้านเปลี่ยนของใหม่เลย เอาแบบปลอดภัยไว้ก่อน ก็ชัวร์ดี
7. ภายในห้องโดยสาร
- กลิ่น ถ้าเปิดรถแล้วได้กลิ่นอับๆ ชื้นๆ แสดงว่าน้ำเข้ารถ ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง ง่ายต่อการดูมากเลย คือเอายางปูพื้นออก ดูว่าพื้นพรมมีรอยชื้นของน้ำหรือเปล่า บางคันพื้นอาจผุจนทะลุ ต้องดูหมดทั้ง 4 จุด
- ดูความเรียบร้อย คอนโซล แตกหรือไม่ ช่องแอร์สมบูรณ์หรือเปล่า ช่องแอร์เป็นอะไรที่ซ่อมยากนะ เพราะอาจไม่มีอะไหล่ด้วย
- แอร์ เปิดแอร์ เบอร์ 1-4 ดูเลยว่ามันไล่ระดับความแรงหรือเปล่า แรงลมจะบอกได้ว่าตันหรือเปล่า สมัยนี้ล้างแอร์ก็ราคาแพงด้วย เปิดทิ้งไว้แล้วออกไปเดินดูรอบๆ รถนานๆ หน่อย ไม่ใช่ แค่แป๊บเดียว แล้วเดินเข้าไปในรถก็จะรู้ว่าแอร์เย็นฉ่ำ หรือ ไม่เย็นฉ่ำ ลองฟังดูว่ามีเสียงอะไรดังผิดปรกติหรือเปล่า แอร์ตัดตามปกติหรือไม่
8. ประวัติรถหากสามารถรู้ประวัติการใช้รถของเจ้าของเดิมมาบ้างก็จะดี เพราะจะได้รู้ว่าเจ้าของรถคนเก่าเคยนำรถไปใช้อย่างไร เช่น ไปชนคนตายมาก่อนหรือเปล่า เคยนำรถไปใช้ทำในสิ่งที่ผิดกฎหมายหรือเปล่า เคยประสบอุบัติเหตุร้ายแรงจนน่ากลัวหรือเปล่า ส่งเหล่านี้เราต้องสืบหาเอาเอง
9. หากซื้อรถจากเต้นท์จะต้องนำรถออกทันทีคุณอย่าไปวางเงินแล้ววางใจ ไม่อย่างนั้น เครื่องเสียง ล้อแม็กซ์ ยาง เครื่องยนต์ และอื่น ของคุณอาจจะถูกเปลี่ยนไป โดยที่คุณเองก็อาจทำอะไรก็ไม่ได้
10. ต้องรีบโอนรถให้เรียบร้อยถ้าคุณซื้อรถจากเจ้าของแล้วควรนำรถออกทันที แต่ถ้าซื้อรถจากเต๊นท์จะต้องทำสัญญาซื้อขายให้ดี ขอใบเสร็จรับเงินให้เรียบร้อย ถ้านัดไปโอนทะเบียบภายหลังจะต้องกำหนดเวลาการโอนในสัญญาซื้อขายอย่างแน่นอน
ขอบคุณข้อมูลดีดีจากhttp://xn--72c4aybab2dvdo7d5dh.blogspot.com/2012_03_01_archive.html